วันอาทิตย์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

เดินกะลา

เดินกะลา เป็นการละเล่นเด็กไทย โดยใช้วัสดุอุปกรณ์ที่หาได้ทั่วไปตามท้องถิ่น ซึ่งผู้ใหญ่มักทำให้เด็กๆ เล่นเพื่อความสนุกเพลิดเพลิน, เสริมสร้างความสามัคคีในหมู่คณะ และเป็นการฝึกการทรงตัวอีกด้วย

วิธีการทำ
การทำเดินกะลานั้นง่ายมาก สามารถหาวัสดุอุปกรณ์ได้ทั่วไปตามท้องถิ่น (ในชนบท)
อุปกรณ์
เชือก: ยาวประมาณ 1 วา - 1 วา ครึ่ง แล้วแต่ความถนัดของผู้เล่น
กะลา
มะพร้าวแก่: 2 อัน

ขั้นตอนการทำ
1. ผ่ากะลาครึ่งซีก แล้วเจาะรูที่ก้นกะลา
2. นำเชือกมาร้อยผ่านรูกะลาอันหนึ่ง
3. มัดเป็นปมขั้นรูกะลา
4. ทำอีกข้างหนึ่งเช่นเดียวกัน เป็นอันเสร็จสมบูรณ์


วิธีการเล่น
ผู้เล่นขึ้นไปยืนบนกะลาที่ทำเสร็จแล้ว สอดนิ้วหัวแม่เท้ากับนิ้วชี้หนีบเส้นเชือก (คล้ายใส่รองเท้าแตะ) ใช้มือทั้งสองข้างจับเชือกตรงกลางเพื่อทรงตัวขณะเดิน แล้วเดินแข่งกัน คนไหนถึงเส้นชัยก่อนเป็นผู้ชนะ แต่ถ้าระหว่างที่เดินไปคนใดเท้าตกจากกะลาไปถูกพื้นก็เป็นผู้แพ้

ประโยชน์

1. เพื่อความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแขน ขา
2. ฝึกการทรงตัวในเด็ก
3. ส่งเสริมด้านสังคม และ อารมณ์ ในกรณีที่มีการแข่งขัน จะทำให้มีปฏิสัมพันธ์แก่บุคคลรอบกาย รู้รักสามัคคี มีน้ำใจนักกีฬา
4. รักษาประเพณีพื้นบ้านของไทย

รีรีข้าวสาร



วิธีเล่น

จับไม้สั้นไม้ยาว ให้ผู้เล่น 2 คน ยืนเอามือประสานกันเหนือศีรษะเป็นประตูโค้ง คนอื่นๆ เกาะไหล่กันลอดใต้โค้งไปเรื่อยๆ สองคนที่เป็นประตูจะร้องเพลงประกอบเวลา แถวลอดใต้โค้งหัวแถวจะต้องเดินอ้อมหลังคนที่เป็นประตูครั้งละหน เมื่อจบเพลงสอง คนที่เป็นประตูจะกระดุกแขนลงกั้นคนสุดท้ายให้อยู่ระหว่างกลาง คัดออกไป คนข้างหลังต้องระวังตัวให้ดี มิฉะนั้นตนเองต้องออกจากการเล่น ต้องผ่านให้ได้หมดทุกคนจึงจะจบ

บทร้องประกอบ

"รีรีข้าวสาร สองทะนานข้าวเปลือก
เลือกท้องใบลาน เก็บเบี้ยใต้ถุนร้าน
คดข้าวใส่จาน พานเอาคนข้างหลังไว้ให้ดี"

หมากรุก


ประวัติ
การเล่นหมากรุกปรากฏในประเทศอินเดียมาหลายพันปี ชาวอินเดียอ้างว่าหมากรุกเกิดขึ้นเมื่อครั้งพระรามไปล้อมเมืองลงกา นางมณโฑเห็นทศกัณฐ์เป็นกังวลกับการสงคราม จึงได้นำกระบวนสงครามตั้งทำเป็นหมากรุกขึ้นให้ทศกัณฐ์เล่นแก้รำคาญ ชาวอินเดียเรียกหมากรุกว่า "จัตุรงค์" เพราะเหตุที่นำกระบวรพล ๔ เหล่าทำเป็นตัวหมากรุก คือ พลช้าง 1 พลม้า 1 พลเรือ 1 พลราบ (เบี้ย) 1 มีพระราชา (ขุน) เป็นจอมทัพ ตั้งเล่นบนแผ่นกระดานจัดขึ้นเป็นตาราง 64 ช่อง วิธีเล่นหมากรุกเดิมที่เรียกว่าจัตุรงค์นั้น ไม่เหมือนอย่างที่เล่นกันในปัจจุบัน มีอธิบายอยู่ในหนังสือมหาภารตะว่า เป็นตัวหมากรุก 4 ชุด แต้มสีต่างกัน สีแดงชุดหนึ่ง สีเขียวชุดหนึ่ง สีเหลืองชุดหนึ่ง สีดำชุดหนึ่ง ในชุดหนึ่งนั้น ตัวหมากรุกมีขุน 1 ตัว ช้าง (โคน) 1 ตัว ม้า 1 ตัว เรือ 1 ตัว เบี้ย 4 ตัว รวมเป็นหมากรุก 8 ตัว สมมติว่าเป็นกองทัพของประเทศหนึ่ง ชุดทางขวามือสมมติว่าอยู่ประเทศทางตะวันออก พวกทางซ้ายมือว่าอยู่ประเทศตะวันตก ชุดข้างบนอยู่ประเทศทางทิศเหนือ ชุดข้างล่างอยู่ประเทศทิศใต้ คนเล่น 4 คนต่างถือหมากรุกคนละชุด แต่การเล่นนั้น พวกที่อยู่ทแยงมุมกัน เป็นสัมพันธมิตรช่วยกันรบกับอีกฝ่ายหนึ่ง ลักษณะเดินตัวหมากรุกอย่างจัตุรงค์นั้น ขุน ม้า เบี้ย เดินอย่างกับหมากรุกที่เราเล่นกัน แต่ช้างเดินอย่างเราเดินเรือกันทุกวันนี้ ส่วนเรือนั้นเดินทแยง (อย่างเม็ด) แต่ให้ข้ามตาใกล้เสีย 1 ตา แต่การที่จะเดินต้องใช้ทอดลูกบาต ลูกบาตนั้นทำเป็นสี่เหลี่ยมแท่งยาวๆ มี 4 ด้าน 2 แต้มด้านหนึ่ง 3 แต้มด้านหนึ่ง 4 แต้มด้านหนึ่ง 5 แต้มด้านหนึ่ง คนเล่นจะทอดลูกบาตเวียนกันไป ถ้าทอดได้แต้ม 5 บังคับเดินขุนหรือเบี้ย ถ้าทอดได้แต้ม 4 ต้องเดินช้าง ถ้าทอดได้แต้ม 3 ต้องเดินม้า ถ้าทอดได้แต้ม 2 ต้องเดินเรือ ต่อมา ราว พ.ศ.200 มีมหาอำมาตย์คนหนึ่งชื่อ
สัสสะ ได้นำการเล่นจตุรงค์มาคิดดัดแปลงให้เล่นได้ 2 คน และเลิกวิธีทอดลูกบาต ให้เดินแต้มโดยใช้ปัญญาความคิดเอาชนะกัน เช่นเดียวกับอุบายการสงคราม กระบวนหมากรุกที่ว่ามหาอำมาตย์สัสสะคิดถวายใหม่นั้น คือรวมตัวหมากรุกซึ่งเดิมเป็น 4 พวกนั้นให้เป็นแต่ 2 พวก ตั้งเรียงฝ่ายละฟากกระดาน (เช่นเดียวกับหมากรุกที่เราเล่นกันทุกวันนี้) เมื่อจัดเป็นกระบวนเป็น 2 ฝ่าย จะมีพระราชาฝ่ายละ 2 องค์ไม่ได้ จึงลดขุนเสีย 1 ตัว คิดเป็นตัวมนตรี (เม็ด) ขึ้นมาแทน หมากรุกอย่างที่มหาอำมาตย์สัสสะคิดแก้ไขนี้ ต่อมาแพร่หลายไปถึงนานาประเทศ ชาวประเทศอื่นจึงได้คิดดัดแปลงแก้ไขตามนิยมกันในประเทศนั้นอีกชั้นหนึ่ง หมากรุกที่เล่นในนานาประเทศทุกวันนี้จึงผิดเพี้ยนกันไปบ้าง แต่เค้ามูลยังเป็นแบบเดียวกัน เพราะต้นแบบแผนได้มาจากอินเดียเช่นเดียวกัน
ชนิดของหมากรุก

วัวลาน


ประวัติวัวลาน

การปลูกข้าวอาชีพหลักของคนไทยส่วนใหญ่ และชาวนาไทยก็ได้อาศัยแรงงานจากวัวไถคราด และงานอื่นๆ นอกผืนนา เช่น งานนวดข้าว ทำนาโดยใช้แรงงานจากวัว มานานถึงประมาณ 5,000 ปี เพราะวัวเป็นสัตว์ที่มีรูปร่างใหญ่ มีแรงมาก เชื่อง ฝึกง่าย และกินหญ้าและฟาง วัวที่ใช้งานส่วนใหญ่ จะเป็นวัวตัวผู้ที่ตอนแล้ว ส่วนวัวตัวเมียเลี้ยงไว้ขยายพันธุ์แล้วขายหารายได้ การใช้งานวัวของชาวนา วัวคู่หนึ่งสามารถไถนาได้เนื้อที่ ประมาณ 20 ไร่ การเล่นวัวลาน ได้มีวิวัฒนาการมาจากการใช้วัวนวดข้าว เพราะลักษณะลานนวดข้าวเป็นวงกลมเป็นดินเหนียวที่อัดแน่นเป็นพื้นเรียบ แล้วส่วนใหญ่ชาวนาจะทาพื้นด้วยมูลวัวอีกทีหนึ่ง วิธีการนวดข้าวนั้น ชาวนาจะแยกเมล็ดข้าวออกจากรวงหลังจากเกี่ยวข้าวแล้ว โดยใช้แรงวัวมาช่วยนวดข้าว ชาวนาจะผูกวัวเรียงเป็นแถวหน้ากระดานไว้กับเสากลางลานบ้าน วัวที่อยู่ใกล้จุดศูนย์กลาง ไม่ต้องใช้กำลังและฝีเท้ามาก เพราะอยู่ในช่วงหมุนรอบสั้นวนเป็นรอบ ๆ ไปเรื่อย ๆ จนกว่าข้าวจะหลุดออกจากรวงข้าวหมด แต่วัวตัวที่อยู่นอกสุดอยู่ห่างจากจุดศูนย์กลาง ระยะทางที่ต้องหมุนจะยาวกว่า จึงต้องเลือกวัวตัวที่มีกำลังและฝีเท้าดีด้วยเหตุนี้ วัวหมุนรอบและเหยียบย่ำจนเมล็ดข้าวเปลือกหลุดออกจากรวงข้าว เมล็ดข้าวเปลือก วัวหมุนรอบและเหยียบย่ำจนเมล็ดข้าวเปลือกหลุดออกจากรวงข้าว เมล็ดข้าวเปลือกจะหล่นบนพื้นลานที่ปราบไว้ดีแล้ว การนวดข้าวจึงเกิดการละเล่นพื้นบ้านวัวลาน
วัวลาน หรือ วัวระดอก เป็น การละเล่นพื้นบ้านในภาคกลางของไทย โดยใช้วัวพันธุ์ไทย มักจะเล่นในเวลากลางคืน เนื่องจากผู้เล่นส่วนใหญ่เป็นชาวนาที่ทำงานในตอนกลางวัน การเล่นวัวลานใช้วัวที่มีอายุประมาณ 5-9 ปี วัวแต่ละตัวจะมีเครื่องประดับวัวที่สวยงาม สำหรับสถานที่เล่นวัวลานนั้น นิยมเล่นกันในผืนนาที่ร้างไม่มีการทำนาหรือที่บริเวณกว้างและเรียบ
วัวลานในปัจจุบัน

การวัวลานในปัจจุบันนิยมเล่นในงานวัด เพื่อหารายได้ให้ทางวัด และในท้องนา จะเริ่มเล่นกันประมาณเวลา 22:00 - 8:00 น. วัวทั้งหมดจะวิ่งเป็นวงกลมรอบๆลานซึ่งมีเสาอยู่ตรงกลาง จะมีสองกลุ่ม ทั้งหมดมี 19 ตัว เรียกว่า วัวนอก กับ วัวคาน วัวคานจะมี 18 ตัว (ตัวที่ 18 เรียกว่า วัวรอง) นำวัวคาน 18 ตัว มาผูก แล้วก็จะมีการต่อรองราคา (เพราะความเห็นไม่ตรงกัน)ของผู้ชมและเจ้าของ เมื่อการต่อรองเสร็จสิ้น ก็จะ นำวัวนอก (ตัวที่ 19) มาผูกวิ่งเป็นวงนอกสุด (ซึ่งมีระยะการวิ่งไกลมาก) หลังจากนั้นก็ปล่อยให้มันวิ่ง แล้วก็ใช้เหล็กแหลมแทงมันเพื่อกระตุ้นพลัง การแพ้ชนะคือ เช่น วัวนอกหมดแรง หรือ วัวคานเชือกหลุด หรือวัวรองโดนวัวนอกแซงแล้วเบียดเข้ามาข้างในแทนตำแหน่งที่ 18

การเตรียมความพร้อมของวัว

เจ้าของวัวจะนำวัวของตนเอวมารวมกันแล้วต้อนขึ้นรถยนต์ ซึ่งเป็นรถบรรทุก จะบรรทุกวัวไปยังสถานที่เล่นวัวลานตามที่นัดหมาย ซึ่งเรียกกันว่า "ลานวัว" ระหว่างทางก็จะมีการโห่ร้องอย่างสนุกสาน เพื่อให้เกิดความครึกครื้น วัวอยู่ตรงกลางรถ คนจะอยู่ที่ท้ายรถ และด้านบนของหัวรถ เมื่อไปถึงลานวัวเป็นเวลาที่พลบค่ำ เจ้าของวัวจะนำวัวลงจากรถบรรทุกนำไปผูกไว้ยัง "ราวผูกวัว" ซึ่งเป็นสถานที่ที่ผู้จัดให้มีการเล่นวัวลานเป็นผู้จัดเตรียมไว้ ซึ่งก็จะอยู่ติดกับ "ลานวัว"

สถานที่เล่นวัวลาน

สถานที่เล่นวัวลาน คือ ผืนนาที่ร้าง ไม่มีการทำนา หรือลานที่ว่างโล่ง เนื้อที่ประมาณ 350 – 400 เมตร จุดศูนย์กลางที่ให้วัววิ่งจะมีเสา ซึ่งเป็นหลักให้วัววิ่ง เรียกว่า "เสาเกียรติ"
"เสาเกียด?" ลานนวดข้าว ปักเสาเกียดไว้ตรงกลาง